เสาเข็มเจาะ
เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกไม่เกิน 20 เมตร (แล้วแต่ ระดับ ชั้นทราย) รับน้ำหนักต่อต้น ได้ไม่เกิน 120 ตัน วิธีการคือเจาะดินลงไป (แบบแห้ง ๆ ) แล้วก็หย่อนเหล็ก เทคอนกรีต ลงไปในหลุม ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการ เคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้ ในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น
เสาเข็มเจาะแบบ 3 ขา ชนิดนี้ใช้เครื่องมือขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายง่าย ทำงานได้ภายในบริเวณจำกัด เช่นใต้เพดานต่ำๆ ในซอกแคบ หรือมุมตึก ซึ่งปั้นจั่นไม่สามารถเข้าไปตอกเสาเข็มได้
อุปกรณ์หลักประกอบด้วย ขาตั้ง 3 ขา (Tripod) ซึ่งปรับสูง-ต่ำ กว้าง-แคบได้ ปลอกเหล็กชั่วคราว (Temporary Casing) กระเช้าตักดิน (Bucket), ลูกตุ้ม(Cylindrical Hammer) และเครื่องกว้านลม (Air Winch)
ลักษณะงานที่ใช้เสาเข็มเจาะ
- งานฐานรากที่ต้องระวังแรงสั่นสะเทือนอันอาจเกิด อันตรายต่ออาคารข้างเคียง ใช้แทน เสาเข็มตอก
- งานฐานรากในบริเวณพื้นที่จำกัดคับแคบ ใต้อาคาร
- งานแก้ไขฐานรากอาคาร โดยไม่ทำลายโครงสร้างเดิม
- งานฐานรากเสริมแท่นเครื่องจักร
- งานฐานรากขยายต่อเติมจากอาคารเดิม
ธุรกิจของเรา
- บริการตอกเสาเข็มด้วยปั่นจั่น
เสาเข็มเจาะ คือการเจาะลงไปใต้พื้นดินและเทคอนกรีตลงไปในหลุมที่เจาะขึ้นรูปเป็นเสาเข็มรูปเสา เมื่อปูนก่อตัวแห้ง มีหน้าที่แบกรับน้ำหนักเป็นฐานรากของอาคารตึกรามบ้านเรือนต่างๆ
ปกติเสาเข็มที่คนเรามักรู้จักเห็นกันทั่วไปตามโครงการก่อสร้างต่างๆเช่น รถไฟฟ้า ทางด่วน อาคารสูง จะเป็นเสาเข็มตอก ใช้เครื่องจักรตอกลงไปในดิน ซึ่งข้อดีของเสาเข็มตอกก็คือ เสาเข็มตอกจะผลิตสำเร็จรูปมาจากโรงงาน เราสามารถตรวจสอบสภาพได้ แต่ข้อเสียก็คือ อย่างที่เราทราบกัน เวลาตอกลงไปในพื้นดินแต่ละที่ดังสะเทือนไปทั่วเมือง มีความสั่นกระเทือนมาก ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้บริเวณหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นชุมชน เสาเข็มจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เสาเข็มตอก และ เสาเข็มเจาะ และเสาเข็มเจาะยังแบ่งออกเป็นเสาเข็มเจาะแบบแห้ง และเสาเข็มเจาะแบบเปียก อีกด้วย
เสาเข็มเจาะ ใช้งานกันมากในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด เช่นบริเวณที่มีการก่อสร้างอยู่ติดกับอาคารข้างเคียง เพราะข้อดีของเสาเข็มเจาะ คือสร้างความกระทบกระเทือนต่ออาคารใกล้เคียงน้อย แต่ก็มีราคาแพงกว่าเสาเข็มตอกอยู่พอสมควรหลักการของเสาเข็มเจาะนั้นจะใช้วิธีเจาะเอาดินออกมาจนถึงระดับที่ต้องการโดยใช้ปลอกเหล็กป้องกันดินพังแล้วจึงใส่เหล็กเสริมลงไปและเทคอนกรีตจนเต็มหลุมเจาะเสาเข็มเจาะเองก็แบ่งออกได้หลายประเภทตามวิธีการทำงานดังนี้
เสาเข็มเจาะระบบเปียก ระบบนี้จะเหมาะกับงานก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ใช้เครื่องมือขนาดใหญ่และค่อนข้างซับซ้อน
เสาเข็มเจาะระบบแห้ง นิยมใช้กันทั่วไปในงานก่อสร้าง เช่นบ้านพักอาศัยทั่วไปเพราะเป็นระบบที่ง่ายไม่ต้องใช้เครื่องมือมากเสาเข็มเจาะประเภทนี้มีหน้าตัดเป็นวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 60 เซนติเมตรสำหรับอาคารบ้านเรือนโดยทั่วไปนิยมใช้เข็มเจาะเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตรและมีความยาว ประมาณ 20 - 30 เมตร
ประเภทของเสาเข็มเจาะ
เสาเข็มไม้ หาได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาถูก ขนส่งสะดวก รับน้ำหนักได้ไม่มาก ต้องตอกเป็นกลุ่ม ส่งผลให้มีฐานรากขนาดใหญ่ ควรตอกให้ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการผุกร่อนจากปลวกและเห็ดรา ปัจจุบันนิยมใช้เสาเข็มไม้สนและยูคาลิปตัสตามท้องตลาดระบุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นนิ้วและความยาวเป็นเมตร
เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมากเป็นเสาเข็มที่หล่อในหน่วยงาน ต้องออกแบบเหล็กเสริมตามยาวให้เพียงเพื่อรับโมเมนต์ดัดจากการเคลื่อนย้าย และการตอก ปัจจุบันไม่นิยมมากนักเนื่องจากไม่ประหยัด จึงใช้เข็มคอนกรีตอัดแรงแทน
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เสาเข็มที่อาศัยเทคนิคการดึงลวดรับแรงดึงแล้วเทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กำลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง ทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม ช่วยลดปัญหาการแตกร้าวของเสาเข็ม เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็ม สปันเป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง
เสาเข็มคอนกรีตหล่อ "เสาเข็มเจาะ"เป็นเสาเข็มที่มุ่งเน้นให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงจากการสั่นสะเทือนน้อย สามารถทำความลึกได้มากกว่าเสาเข็มตอกและสามารถควบคุมตำแหน่งได้ดีกว่า
เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มที่ทำจากเหล็กทั้งท่อน ความสามารถรับน้ำหนักได้สูง
กว่าเสาเข็มคอนกรีตและไม้ แต่มีราคาแพงและเกิดการผุกร่อนได้ง่ายจากสนิม
นิยมใช้กับงานโครงสร้างชั่วคราวที่ต้องรับน้ำหนักมาก
แต่ต้องทำการรื้อถอนในภายหลัง
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพานิชย์และบ้านพักอาศัยทั่วไป
เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง
กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทกลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก
ซับซ้อนและประหยัดค่าใช้จ่าย
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่
1.1 เสาเข็มรูปตัวไอ
1.2 เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
1.3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
1.4 เสาเข็มรูปตัวที
ชนิดเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็ม
รูปตัวไอ ส่วนขนาดและ ความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด
ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
หรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่าหรือการรับน้ำหนักน้อยกว่า
เช่น งานฐานราก ของรั้ว
เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้
งาน กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน และจะต้องทำ ณ
สถานที่ที่จะใช้งานจริงเลย
โดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจาก
นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม
เสาเข็มเจาะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่
2.1 เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( small diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง
35-60 เซนติเมตร ( ส่วนใหญ่จะเป็น ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60
เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร
กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง ( dry process )
ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา
2.2 เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( large diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า
60 เซนติเมตรขึ้นไป ( ส่วนใหญ่จะมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80, 100, 120,
150 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร
กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก ( wet process )
ซึ่งแตกต่างจากระบบแห้ง คือจะต้องเพิ่ม
ขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite slurry
ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ
หลุมที่มีความลึกมากๆถึงชั้นทรายหรือหลุมที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้
เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะและยึดประ
สานผิวดินในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมา
การใช้เสาเข็มเจาะจะไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตรายต่ออาคารข้างเคียง
เพราะไม่มี การตอกกระแทกของปั้นจั่นดังเช่นที่ใช้กับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
อีกทั้งขนาดของเสาเข็มเจาะก็อาจทำให้มีขนาดใหญ่โดยมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง
200 เซนติเมตร
เพราะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดของขนาดของปั้นจั่นและน้ำหนักของตัวเสาเข็ม
ขณะที่เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงนั้นขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ใช้กันทั่ว
ไปมีขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัดเพียง 40 เซนติเมตรเท่านั้น
อีกทั้งความลึกของเสาเข็มเจาะก็สามมารถเจาะได้ลึกกว่าความยาวของเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
ฉะนั้นเสาเข็มเจาะจึงเหมาะอย่างยิ่ง
สำหรับอาคารสูงซึ่ง
ต้องรับน้ำหนักมากและอาคารที่สร้างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสั่นสะเทือนซึ่งจะเป็นอันตรายต่ออาคาร
ข้างเคียง
ในทางปฏิบัติแล้วขั้นตอนในการทำเสาเข็มเจาะจะมีรายละเอียดที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่าที่กล่าวไว้มาก
ที่กล่าวมาข้างต้นก็เพียงต้องการให้มองเห็นภาพและขั้นตอนของการทำเสาเข็มเจาะเพียงคร่าว
ๆ เท่านั้น
การปลูกบ้านพักอาศัยโดยทั่วไปมักจะใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเพราะมีขั้นตอนที่ง่ายกว่าและราคาถูกกว่า
เสาเข็มเจาะ
3. เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง
เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรงหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเสาเข็มสปัน
เป็นเสาเข็มที่ผลิตที่ใช้กรรมวิธีการ
ปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงกว่าคอนกรีตที่หล่อ
โดยวิธีธรรมดา จึงมีความแข็งแกร่งสูง รับน้ำหนักได้มาก
เสาเข็มสปันมีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง
มีโครงลวดเหล็กอัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ
การตอกเสาชนิดนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งวิธีการตอกด้วยปั้นจั่นแบบธรรมดา
และวิธีการตอกด้วยระบบเจาะกด
เสาเข็มสปันมีให้เลือกใช้หลายขนาด
ที่พบเห็นกันมากมีตั้งแต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-100 เซนติเมตร
มีความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 6-14 เซนติเมตร โดยมีความยาวอยู่ในช่วง
6-18 เมตร ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต
ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกัน
เนื่องจากเสาเข็มสปันมีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก
และถ้าเสาเข็มที่ใช้ความ
ยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้โดยการเจาะนำและลำเลียงดินขึ้นทางรูกลวงของเสา
ซึ่ง จะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก
เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูงเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องลมแรงและการเกิดแผ่นดินไหว